วันอาทิตย์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2556

รถ AVG

รถขับเคลื่อนอัตโนมัติ ( AGV )

                เป็นรถที่มีการขับเคลื่อนโดยไม่มีคนขับ  เคลื่อนไปตามทางบนเส้นลวดที่ฝังไว้ใต้พื้นของโรงงาน  สามารถควบคุมเส้นทางเดินของรถได้โดยคอมพิวเตอร์  ในปัจจุบันมีการใช้อัลกอริทึม (algorithms) หลาย ๆ แบบเพื่อการคำนวณเส้นทางของลวดที่จะฝังลงบนพื้นและคำนวณเส้นทางที่น่าพอใจที่สุดของรถจากจุดเริ่มต้นไปสู่จุดหมาย  เส้นทางที่กล่าวถึงอาจเป็นแบบแสง (passive  fluorescent) หรือแบบแม่เหล็ก (magnetic  line) ถูกทาสีบนพื้นหรือการใช้ลวดนำทาง (active  guide  wire) ฝังไปในพื้น
                ส่วนประกอบของการนำทางของ AGV ประกอบด้วยตัวนำทิศทางระบบซึ่งปล่อยรถออกและควบคุมการนำทาง  การติดต่อกับรถทำได้โดยลวดนำทางซึ่งฝังไว้ใต้พื้น  ตัวนำระบบถูกติดต่อกับรถทั้งหมดตลอดเวลา  แต่ละคันมีความถี่นำทางของมันเองและตามลวดนำทางไปกับการช่วยของตัวตรวจรู้ (sensor) ความถี่การติดต่อระดับสูงกว่าถูกใช้สำหรับการถ่ายทอดข้อมูลระหว่างตัวนำระบบกับแผงคอมพิวเตอร์ (on-board computers) ดังนั้นตัวนำระบบจะได้รับการแจ้งตลอดเวลาเกี่ยวกับตำแหน่งและสภาวะของการยกของรถ  ตำแหน่งของรถสามารถแสดงได้บนสถานี (terminal) วัสดุซึ่งอยู่บนรถถูกกำหนดโดยการอ่านสัญลักษณ์บาร์โค๊ด (bar code) และข่าวสารถูกถ่ายทอดไปโดยช่องของข้อมูลไปยังตัวนำระบบ  การเดินทางของรถทั่วทั้งโรงงานถูกกำหนด ณ จุดยุทธศาสตร์เนื่องจากผลตอบสนองในพื้นและตัวรับในรถ ณ จุดที่กำหนดรถได้รับคำแนะนำในการติดตามเส้นทางที่ให้ไว้  หน้าที่ที่จำเป็นของตัวนำระบบมีดังนี้
                      1. การเลือกของรถและการจัดการกับรถที่ว่าง
                      2. การควบคุมของการจัดสรรลำดับของรถ
                      3. การเก็บข้อมูลของตัวขนถ่าย
                      4. การควบคุมของทิศทางที่ถูกต้อง
               
การกระจายรถแบบอัตโนมัติโดยคนขับ 


                การปฏิบัติการด้านการผลิตกำลังต้องการระบบการขนถ่ายวัสดุที่คล่องแคล่วอย่างสูง จึงมีบ่อยครั้งที่มีการใช้รถที่มีคนขับ  เช่น รถยกปากซ่อม  รถเหล่านี้สามารถที่จะถูกพัฒนาได้อย่างเต็มที่เพื่อให้มีความยืดหยุ่นสูงกับการช่วยของสถานี (terminal) ที่เคลื่อนที่ได้ ซึ่งถูกติดต่อโดย วิทยุ หรือ แสงอินฟาเรด  เชื่อมไปยังคอมพิวเตอร์ สองวิธีของการควบคุมการปฏิบัติการปล่อยรถถูกใช้คือตัวรับและตัวส่งการปฏิบัติงานด้วยเสียง (voice  operated  receiver / transmitters) หรือสถานีคอมพิวเตอร์เคลื่อนที่ได้ (portable  computer  terminals) วิธีการที่จะให้รถออกจากที่เก็บของมันถูกจัดการโดยคอมพิวเตอร์ควบคุมซึ่งมีอัลกอริทึมในการหาเส้นทางที่น่าพึงพอใจมากที่สุด (optimization  algorithm) เพื่อลดระยะทางการเดินทางโดยรถ

รถสำหรับการเคลื่อนวัสดุแบบอิสระ
                ในปัจจุบันความพยายามได้เริ่มในการพัฒนารถที่เป็นอิสระสำหรับการเคลื่อนย้ายวัสดุ  มันเป็นไปได้ที่จะสร้างโรงงานการผลิตที่มีความยืดหยุ่นสูงมาก  แต่ละการรวมกันของเครื่องมือเครื่องจักรอาจจะถูกเชื่อมต่อกันตามแนวความคิดทางการผลิตที่เป็นจริง
                ระบบอิสระเป็นความสามารถในการวางแผนและบริหารตามงานที่ให้ไว้  เมื่อการวางแผนงานสามารถทำได้แล้วการบริหารก็สามารถที่จะเริ่มได้  ระบบตัวตรวจรู้ (sensor) แบบซับซ้อนถูกกระตุ้นซึ่งนำและแนะนำการเดินทางของรถ  มันเป็นสิ่งจำเป็นในการเข้าใจและแก้ปัญหาความขัดแย้งโดยใช้การช่วยเหลือของระบบฐานข้อมูลที่ใส่ไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์  ส่วนประกอบพื้นฐานของรถประสิทธิภาพสูงแบบอิสระมีดังนี้
                    1. ระบบกลไกและการขับ (Mechanics  and  drive  system)
                    2. ระบบการตรวจรู้ (Sensor  system)
                                - ตัวตรวจรู้ภายใน (internal  sensors)
                                - ตัวตรวจรู้ภายนอก (external  sensors)
                    3. ตัวนำทางและตัววางแผนการเดินทาง (Planner  and  navigator)
                                - ตัววางแผน (planner)
                                - ตัวนำทาง (navigator)
                                - ระบบชาญฉลาด (expert system)
                                - อัลกอริทึมที่ใช้ในการควบคุม (knowledge base)
                                - ความรู้เกี่ยวกับข้อมูล (data  knowledge)
                  4. โมเดลการทำงานทั่วไป (World  model)
                                - ส่วนคงที่ (static component)
                                - ส่วนไดนามิก (dynamic component)
                    5. ระบบคอมพิวเตอร์ (The computer system)

                รถขับเคลื่อนอัตโนมัติต้องมีความสามารถต่างๆดังต่อไปนี้
1. การวางแผนและเตรียมการแบบอิสระของหลักสูตรของการปฏิบัติตามงานที่ให้ไว้      เช่น การ
    ขนส่ง ชิ้นงานจากสถานที่เก็บไปยังเครื่องมือเครื่องจักร
    2. การบริหารการวางแผนและการตรวจเป็นอิสระของหลักสูตรการปฏิบัติ
    3. ความเข้าใจในสภาพแวดล้อมกับการช่วยของตัวตรวจรู้ (sensors)  และการแปล             
        ความหมายของผลลัพธ์
4. ปฏิกิริยาเป็นอิสระในการเกิดเหตุการณ์ที่ไม่เคยเห็น  เช่น ถ้ารถเจอวัตถุที่ไม่เคยเห็นเข้ามาใน
    เส้นทางของมัน รถต้องสามารถที่จะเข้าใจและหลีกเลี่ยงมัน
5. การเรียนแบบ passive และ active รถต้องสามารถเรียนจากงานที่มันทำเพื่อที่จะพัฒนา
    ความสามารถในการปฏิบัติงานของมัน

               รถขับเคลื่อนอัตโนมัติ
               กระบวนการทำงานของรถ AGV แบบกึ่งอัตโนมัติ
               1. พนักงานประจำสถานีงานกดสัญญานแจ้งความต้องการชิ้นส่วนไปยังคลังชิ้นส่วนด้วยระบบ e-kanban
               2. ข้อมูลจากระบบ e-kanban จะไปปรากฏที่คลังชิ้นส่วน
               3. พนักงานจัดชิ้นส่วนซึ่งอยู่ในกระบะขึ้นรถพ่วงของรถ AGV
               4. รถ AGV วิ่งไปส่งชิ้นส่วนที่สถานีงาน
               5. พนักงานประจำสถานีงานทำการแลกเปลี่ยนกระบะ (box) เปล่ากับกระบะที่มีชิ้นส่วน
               6. รถวิ่งกลับไปยังคลังชิ้นส่วน
                       คุณลักษณะรถขับเคลื่อนอัตโนมัติพร้อมราคาและค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา
               จากการประสานงานกับบริษัท ซิกม่า ออโตเมชั่น ซิสเต็มส์ จำกัด เกี่ยวกับคุณลักษณะรถขับเคลื่อนอัตโนมัติที่จะใช้ในโครงการจัดส่งชิ้นส่วนพร้อมราคาดังแสดงในตารางที่ 5 และค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
                1.) จำนวนชิ้นส่วนคงเหลือระหว่างการผลิต (WIP) จะลดลง
                2.) ลดความไม่เป็นระเบียบในการจัดส่งชิ้นส่วนให้กับสถานีงาน
                3.) จำนวนพนักงานจ่ายชิ้นส่วนเข้าสถานีงานลดลง

สรุป                           
                  จากการวิเคราะห์ระบบการขนถ่ายวัสดุร่วมกับทางบริษัทได้มีความเห็นร่วมกันว่าจะใช้รถขับเคลื่อนอัตโนมัติ (AGV) จำนวน 2 คันลากรถพ่วงที่บรรทุกชิ้นส่วนไปจัดส่งตามสถานีงานเที่ยวละสถานีงาน ด้วยความเร็วเฉลี่ยประมาณ 25 กม./ชั่วโมง  โดยสถานีงานแต่ละสถานีงานจะเรียกชิ้นส่วนด้วยระบบ e-kanban เมื่อมีชิ้นส่วนลดลงถึงจุดเรียกชิ้นส่วน  สำหรับการขนถ่ายชิ้นส่วนสำเร็จรูปทางบริษัทจะใช้วิธีการเดิม คือ ใช้รถยกปากซ่อมลากหรือยกแล้วแต่ความเหมาะสม

วีดีโอ



เอกสารอ้างอิง
                  1.) วนิดา รัตนมณี , การผลิตแบบอัตโนมัติ (Manufacturing Automation) , สงขลา : ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2545
                  2.) www.egeminusa.com/pages/agvs/agvs_ulv.html
                  3.) www.business-analysis-made-easy.com/Calculating-Internal-Rate-Of-Return.html