วันอาทิตย์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2556

รถ AVG

รถขับเคลื่อนอัตโนมัติ ( AGV )

                เป็นรถที่มีการขับเคลื่อนโดยไม่มีคนขับ  เคลื่อนไปตามทางบนเส้นลวดที่ฝังไว้ใต้พื้นของโรงงาน  สามารถควบคุมเส้นทางเดินของรถได้โดยคอมพิวเตอร์  ในปัจจุบันมีการใช้อัลกอริทึม (algorithms) หลาย ๆ แบบเพื่อการคำนวณเส้นทางของลวดที่จะฝังลงบนพื้นและคำนวณเส้นทางที่น่าพอใจที่สุดของรถจากจุดเริ่มต้นไปสู่จุดหมาย  เส้นทางที่กล่าวถึงอาจเป็นแบบแสง (passive  fluorescent) หรือแบบแม่เหล็ก (magnetic  line) ถูกทาสีบนพื้นหรือการใช้ลวดนำทาง (active  guide  wire) ฝังไปในพื้น
                ส่วนประกอบของการนำทางของ AGV ประกอบด้วยตัวนำทิศทางระบบซึ่งปล่อยรถออกและควบคุมการนำทาง  การติดต่อกับรถทำได้โดยลวดนำทางซึ่งฝังไว้ใต้พื้น  ตัวนำระบบถูกติดต่อกับรถทั้งหมดตลอดเวลา  แต่ละคันมีความถี่นำทางของมันเองและตามลวดนำทางไปกับการช่วยของตัวตรวจรู้ (sensor) ความถี่การติดต่อระดับสูงกว่าถูกใช้สำหรับการถ่ายทอดข้อมูลระหว่างตัวนำระบบกับแผงคอมพิวเตอร์ (on-board computers) ดังนั้นตัวนำระบบจะได้รับการแจ้งตลอดเวลาเกี่ยวกับตำแหน่งและสภาวะของการยกของรถ  ตำแหน่งของรถสามารถแสดงได้บนสถานี (terminal) วัสดุซึ่งอยู่บนรถถูกกำหนดโดยการอ่านสัญลักษณ์บาร์โค๊ด (bar code) และข่าวสารถูกถ่ายทอดไปโดยช่องของข้อมูลไปยังตัวนำระบบ  การเดินทางของรถทั่วทั้งโรงงานถูกกำหนด ณ จุดยุทธศาสตร์เนื่องจากผลตอบสนองในพื้นและตัวรับในรถ ณ จุดที่กำหนดรถได้รับคำแนะนำในการติดตามเส้นทางที่ให้ไว้  หน้าที่ที่จำเป็นของตัวนำระบบมีดังนี้
                      1. การเลือกของรถและการจัดการกับรถที่ว่าง
                      2. การควบคุมของการจัดสรรลำดับของรถ
                      3. การเก็บข้อมูลของตัวขนถ่าย
                      4. การควบคุมของทิศทางที่ถูกต้อง
               
การกระจายรถแบบอัตโนมัติโดยคนขับ 


                การปฏิบัติการด้านการผลิตกำลังต้องการระบบการขนถ่ายวัสดุที่คล่องแคล่วอย่างสูง จึงมีบ่อยครั้งที่มีการใช้รถที่มีคนขับ  เช่น รถยกปากซ่อม  รถเหล่านี้สามารถที่จะถูกพัฒนาได้อย่างเต็มที่เพื่อให้มีความยืดหยุ่นสูงกับการช่วยของสถานี (terminal) ที่เคลื่อนที่ได้ ซึ่งถูกติดต่อโดย วิทยุ หรือ แสงอินฟาเรด  เชื่อมไปยังคอมพิวเตอร์ สองวิธีของการควบคุมการปฏิบัติการปล่อยรถถูกใช้คือตัวรับและตัวส่งการปฏิบัติงานด้วยเสียง (voice  operated  receiver / transmitters) หรือสถานีคอมพิวเตอร์เคลื่อนที่ได้ (portable  computer  terminals) วิธีการที่จะให้รถออกจากที่เก็บของมันถูกจัดการโดยคอมพิวเตอร์ควบคุมซึ่งมีอัลกอริทึมในการหาเส้นทางที่น่าพึงพอใจมากที่สุด (optimization  algorithm) เพื่อลดระยะทางการเดินทางโดยรถ

รถสำหรับการเคลื่อนวัสดุแบบอิสระ
                ในปัจจุบันความพยายามได้เริ่มในการพัฒนารถที่เป็นอิสระสำหรับการเคลื่อนย้ายวัสดุ  มันเป็นไปได้ที่จะสร้างโรงงานการผลิตที่มีความยืดหยุ่นสูงมาก  แต่ละการรวมกันของเครื่องมือเครื่องจักรอาจจะถูกเชื่อมต่อกันตามแนวความคิดทางการผลิตที่เป็นจริง
                ระบบอิสระเป็นความสามารถในการวางแผนและบริหารตามงานที่ให้ไว้  เมื่อการวางแผนงานสามารถทำได้แล้วการบริหารก็สามารถที่จะเริ่มได้  ระบบตัวตรวจรู้ (sensor) แบบซับซ้อนถูกกระตุ้นซึ่งนำและแนะนำการเดินทางของรถ  มันเป็นสิ่งจำเป็นในการเข้าใจและแก้ปัญหาความขัดแย้งโดยใช้การช่วยเหลือของระบบฐานข้อมูลที่ใส่ไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์  ส่วนประกอบพื้นฐานของรถประสิทธิภาพสูงแบบอิสระมีดังนี้
                    1. ระบบกลไกและการขับ (Mechanics  and  drive  system)
                    2. ระบบการตรวจรู้ (Sensor  system)
                                - ตัวตรวจรู้ภายใน (internal  sensors)
                                - ตัวตรวจรู้ภายนอก (external  sensors)
                    3. ตัวนำทางและตัววางแผนการเดินทาง (Planner  and  navigator)
                                - ตัววางแผน (planner)
                                - ตัวนำทาง (navigator)
                                - ระบบชาญฉลาด (expert system)
                                - อัลกอริทึมที่ใช้ในการควบคุม (knowledge base)
                                - ความรู้เกี่ยวกับข้อมูล (data  knowledge)
                  4. โมเดลการทำงานทั่วไป (World  model)
                                - ส่วนคงที่ (static component)
                                - ส่วนไดนามิก (dynamic component)
                    5. ระบบคอมพิวเตอร์ (The computer system)

                รถขับเคลื่อนอัตโนมัติต้องมีความสามารถต่างๆดังต่อไปนี้
1. การวางแผนและเตรียมการแบบอิสระของหลักสูตรของการปฏิบัติตามงานที่ให้ไว้      เช่น การ
    ขนส่ง ชิ้นงานจากสถานที่เก็บไปยังเครื่องมือเครื่องจักร
    2. การบริหารการวางแผนและการตรวจเป็นอิสระของหลักสูตรการปฏิบัติ
    3. ความเข้าใจในสภาพแวดล้อมกับการช่วยของตัวตรวจรู้ (sensors)  และการแปล             
        ความหมายของผลลัพธ์
4. ปฏิกิริยาเป็นอิสระในการเกิดเหตุการณ์ที่ไม่เคยเห็น  เช่น ถ้ารถเจอวัตถุที่ไม่เคยเห็นเข้ามาใน
    เส้นทางของมัน รถต้องสามารถที่จะเข้าใจและหลีกเลี่ยงมัน
5. การเรียนแบบ passive และ active รถต้องสามารถเรียนจากงานที่มันทำเพื่อที่จะพัฒนา
    ความสามารถในการปฏิบัติงานของมัน

               รถขับเคลื่อนอัตโนมัติ
               กระบวนการทำงานของรถ AGV แบบกึ่งอัตโนมัติ
               1. พนักงานประจำสถานีงานกดสัญญานแจ้งความต้องการชิ้นส่วนไปยังคลังชิ้นส่วนด้วยระบบ e-kanban
               2. ข้อมูลจากระบบ e-kanban จะไปปรากฏที่คลังชิ้นส่วน
               3. พนักงานจัดชิ้นส่วนซึ่งอยู่ในกระบะขึ้นรถพ่วงของรถ AGV
               4. รถ AGV วิ่งไปส่งชิ้นส่วนที่สถานีงาน
               5. พนักงานประจำสถานีงานทำการแลกเปลี่ยนกระบะ (box) เปล่ากับกระบะที่มีชิ้นส่วน
               6. รถวิ่งกลับไปยังคลังชิ้นส่วน
                       คุณลักษณะรถขับเคลื่อนอัตโนมัติพร้อมราคาและค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา
               จากการประสานงานกับบริษัท ซิกม่า ออโตเมชั่น ซิสเต็มส์ จำกัด เกี่ยวกับคุณลักษณะรถขับเคลื่อนอัตโนมัติที่จะใช้ในโครงการจัดส่งชิ้นส่วนพร้อมราคาดังแสดงในตารางที่ 5 และค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
                1.) จำนวนชิ้นส่วนคงเหลือระหว่างการผลิต (WIP) จะลดลง
                2.) ลดความไม่เป็นระเบียบในการจัดส่งชิ้นส่วนให้กับสถานีงาน
                3.) จำนวนพนักงานจ่ายชิ้นส่วนเข้าสถานีงานลดลง

สรุป                           
                  จากการวิเคราะห์ระบบการขนถ่ายวัสดุร่วมกับทางบริษัทได้มีความเห็นร่วมกันว่าจะใช้รถขับเคลื่อนอัตโนมัติ (AGV) จำนวน 2 คันลากรถพ่วงที่บรรทุกชิ้นส่วนไปจัดส่งตามสถานีงานเที่ยวละสถานีงาน ด้วยความเร็วเฉลี่ยประมาณ 25 กม./ชั่วโมง  โดยสถานีงานแต่ละสถานีงานจะเรียกชิ้นส่วนด้วยระบบ e-kanban เมื่อมีชิ้นส่วนลดลงถึงจุดเรียกชิ้นส่วน  สำหรับการขนถ่ายชิ้นส่วนสำเร็จรูปทางบริษัทจะใช้วิธีการเดิม คือ ใช้รถยกปากซ่อมลากหรือยกแล้วแต่ความเหมาะสม

วีดีโอ



เอกสารอ้างอิง
                  1.) วนิดา รัตนมณี , การผลิตแบบอัตโนมัติ (Manufacturing Automation) , สงขลา : ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2545
                  2.) www.egeminusa.com/pages/agvs/agvs_ulv.html
                  3.) www.business-analysis-made-easy.com/Calculating-Internal-Rate-Of-Return.html 

วันจันทร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2556

เทคโนโลยีการสื่อสาร 023


เทคโนโลยีการสื่อสาร

 ความหมาย

         เมื่อเอ่ยถึงเทคโนโลยีการสื่อสาร คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงสิ่งที่เกี่ยวกับเครื่องมือหรืออุปกรณ์ใหม่ ๆ

ที่ทันสมัย  มีราคาแพง มีระบบการทำงานที่ยุ่งยากซับซ้อนซึ่งเมื่อนำมาใช้แล้วสามารถช่วยให้การทำงานมี
ประสิทธิภาพดีขึ้น และประสิทธิผลสูงขึ้น รวมทั้งประหยัดเวลาและแรงงานอีกด้วย อย่างไร ก็ตาม เทคโนโลยี
เป็นคำที่มาจากภาษาลาติน และภาษากรีก คือ ภาษาลาติน Texere : การสาน (to weare) : การสร้าง (to construct)
ภาษากรีก Technologia : การกระทำอย่างมีระบบ (Systematic Treatment)
                   เทคโนโลยีมิได้มีความหมายเฉพาะการใช้เครื่องจักรกลอย่างเดียวเท่านั้นแต่ยังรวมไปถึงการปฏิบัติ
หรือดำเนินการใด ๆ ที่ใช้ความรู้ วิธีการ หรือเทคนิคทางวิทยาศาสตร์เพื่อช่วยให้การดำเนินการต่าง ๆ บรรลุผล
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.. 2525 ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีว่า หมายถึง วิทยาการที่
เกี่ยวกับศิลปะ ในการนำเอาวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม
                   ลักษณะของเทคโนโลยีสามารถจำแนกออกได้เป็น 3 ลักษณะ คือ (Heinich , Molenda and Russell.
1993 : 449)
                         1. เทคโนโลยีในลักษณะของกระบวนการ ( process) เป็นการใช้อย่างเป็นระบบของวิธีการทาง
วิทยาศาสตร์ หรือความรู้ต่าง ๆ  ที่ได้รวบรวมไว้  เพื่อนำไปสู่ผลในทางปฏิบัติ  โดยเชื่อว่าเป็นกระบวนการที่
เชื่อถือได้และนำไปสู่การแก้ปัญหาต่าง ๆ
                         2. เทคโนโลยีในลักษณะของผลผลิต (product) หมายถึง วัสดุและอุปกรณ์ที่เป็นผลมาจากการใช้
กระบวนการทางเทคโนโลยี
                         3. เทคโนโลยีในลักษณะผสมของกระบวนการและผลผลิต (process and product)   เช่น ระบบ
คอมพิวเตอร์ซึ่งมีการทำงานเป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวเครื่องกับโปรแกรม
                   สารานุกรมเอ็นคาร์ทา (Encarta 1999) ได้ให้ที่มาและความหมายของคำว่า เทคโนโลยี (Technology)
ไว้ว่า Technology เป็นคำที่มาจากภาษากรีก 2 คำรวมกัน คือ Tekhne หมายถึง ศิลป หรืองานช่างฝีมือ (art of
craft) และ logia หมายถึง สาขาวิชาของการศึกษา (art of study) ดังนั้นถ้าจะแปลตามตัวแล้ว เทคโนโลยี จึง
หมายถึง การศึกษาหรือศาสตร์ของงานช่างฝีมือ
                   พจนานุกรมเว็บสเทอร์ (Websters 1994) ได้ให้ความหมายของคำว่า เทคโนโลยี ไว้ดังนี้
                         1)  การใช้ทางวิทยาศาสร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านอุตสาหกรรมและ
พานิชกรรม
                         2) องค์รวมทั้งหมดของวิธีการและวัสดุที่ใช้เพื่อบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
                         3) องค์ความรู้ที่มีอยู่ในอารยธรรมเพื่อใช้ในการเพิ่มพูน ฝึกหัดด้านศิลปะและทักษะความชำนาญ
เพื่อให้ได้มาซึ่งวัสดุ
                    บราวน์ (Brown) กล่าวว่า เทคโนโลยีเป็นการนำวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้บังเกิดผลประโยชน์
                   เดล (Dale 1969) ให้ความหมายว่า เทคโนโลยีประกอบด้วยผลรวมของการทดลอง เครื่องมือ และ
กระบวนการ ซึ่งสิ่งทั้งหลายเหล่านี้เกิดจากการเรียนรู้ ทดลอง และได้รับการปรับปรุงแก้ไขมาแล้ว
กล่าวอีกนัยหนึ่ง เทคโนโลยี หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวกับการผลิต การสร้าง และการใช้สิ่งของ
กระบวนการ หรืออุปกรณ์ที่ไม่ได้มีในธรรมชาตินั่นเอง
                   สุพิทย์ กาญจนพันธุ์ (2541) หมายถึงวิธีการอย่างมีระบบในการวางแผน การประยุกต์ใช้ และการ
ประเมินกระบวนการเรียนการสอนทั้งระบบ โดยให้ความสำคัญต่อทั้งด้านเครื่องมือ ทรัพยากรมนุษย์ และ
ปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างมนุษย์กับเครื่องมือ เพื่อจะได้รูปแบบการศึกษาที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ใน
ความหมายนี้ เทคโนโลยีการศึกษาใช้การวิเคราะห์ระบบเป็นเครื่องมือในการดำเนินงาน
                   เสาวนีย์ สิกขาบัณฑิต (2528) กล่าวไว้ว่า เทคโนโลยีคือวิธีการหรือเทคนิคทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้ในการ
ดำเนินการต่างๆเพื่อให้บรรลุผล และจากความหมายดังกล่าวข้างต้นพอจะสรุปได้ว่า
                   เทคโนโลยี  เป็นการนำเอาแนวความคิด หลักการ เทคนิค ความรู้ ระเบียบวิธี กระบวนการ ตลอดจน
ผลผลิตทางวิทยาศาสตร์  ทั้งในด้านสิ่งประดิษฐ์ และวิธีปฏิบัติมาประยุกต์ใช้ในระบบงาน  เพื่อช่วยให้เกิดการ
เปลี่ยนแปลงในการทำงานให้ดียิ่งขึ้นและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานให้มีมากยิ่งขึ้น
การนำเทคโนโลยีมาใช้กับงานในสาขาใดสาขาหนึ่งนั้น เทคโนโลยีจะมีส่วนช่วยสำคัญ 3 ประการ และถือเป็น
เกณฑ์ในการพิจารณานำเทคโนโลยีมาใช้ด้วย (ก่อ สวัสดิพาณิชย์ 2517 : 84)  คือ
                         1. ประสิทธิภาพ ( Efficiency ) เทคโนโลยีจะช่วยให้การทำงานบรรลุผลตามเป้าหมายได้อย่าง
เที่ยงตรงและรวดเร็ว
                         2. ประสิทธิผล ( Productivity ) เป็นการทำงานเพื่อให้ได้ผลผลิตออกมาอย่างเต็มที่มากที่สุดเท่าที่
จะมากได้ เพื่อให้ได้ประสิทธิผลสูงสุด
                         3. ประหยัด ( Economy ) เป็นการประหยัดทั้งเวลาและแรงงานในการทำงานด้วยการลงทุนน้อยแต่
ได้ผลมากกว่าที่ลงทุนไป
                   การสื่อสาร หมายถึง การนำสื่อหรือข้อความของฝ่ายหนึ่งส่งให้อีกฝ่ายหนึ่ง  ประกอบด้วยผู้ส่งข่าวสาร
หรือแหล่งกำเนิดข่าวสาร  ช่องทางการส่งข้อมูล  ซึ่งเป็นสื่อกลางหรือตัวกลางอาจเป็นสายสัญญาณ  และหน่วย
รับข้อมูลหรือผู้รับสาร
        การสื่อสาร หรือ การสื่อความหมาย (Communication) เป็นคำที่รากศัพท์มาจากภาษาลาตินว่า "communius" หมายถึง "พร้อมกัน" หรือ "ร่วมกัน" (common) หมายความว่า เมื่อมีการสื่อสารระหว่างกันเกิดขึ้น คนเราพยายามที่จะสร้าง "ความพร้อมกันหรือความร่วมกัน" ทางด้านความคิดเรื่องราวเหตุการณ์ ทัศนคติ ฯลฯ กับบุคคลที่เรากำลังสื่อสารด้วยนั้น ดังนั้น การสื่อสารจึงหมายถึง การถ่ายทอดเรื่องราว การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การแสดงออกของความคิดและความรู้สึก ตลอดรวมไปถึง "ระบบ" (เช่น ระบบโทรศัพท์) เพื่อการติดต่อสื่อสารข้อมูลซึ่งกันและกัน (Webster's Dictionary 1978 : 98) นอกจากนี้ การสื่อสารยังเป็นการที่บุคคลในสังคมมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกันโดยผ่านทางข้อมูลข่าวสาร สัญลักษณ์ตลอดจนเครื่องหมายต่าง ๆ ด้วย (Fiske 1985:2        เทคโนโลยี มีความหมายค่อนข้างกว้าง โดยทั่วไปหมายถึง สิ่งที่มนุษย์พัฒนาขึ้น เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ เข่น อุปกรณ์, เครื่องมือ, เครื่องจักร, วัสดุ หรือ แม้กระทั่งที่ไม่ได้เป็นสิ่งของที่จับต้องได้ เช่น กระบวนการต่าง ๆ เทคโนโลยี เป็นการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์ให้เกิดประโยชน์ ในทางเศรษฐศาสตร์ มองเทคโนโลยีว่า เป็นความรู้ของมนุษย์ ณ ปัจจุบัน ในการนำเอาทรัพยากรมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ (รวมถึงความรู้ว่าเราสามารถผลิตอะไรได้บ้าง) ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี จะเกิดขึ้นเมื่อความรู้ทางเทคนิคของเราเพิ่มขึ้น        คำว่า “เทคโนโลยี” มีความสัมพันธ์กับการดำรงชีวิตของมนุษย์มาเป็นเวลานาน เป็นสิ่งที่มนุษย์ใช้แก้ปัญหาพื้นฐาน ในการดำรงชีวิต เช่น การเพาะปลูก ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค ในระยะแรกเทคโนโลยีที่นำมาใช้ เป็น เทคโนโลยีพื้นฐานไม่สลับซับซ้อนเหมือนดังปัจจุบัน การเพิ่มของประชากร และข้อจำกัดด้านทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งมีการพัฒนาความสัมพันธ์กับต่างประเทศเป็นปัจจัยด้านเหตุสำคัญในการนำและพัฒนาเทคโนโลยีมาใช้มากขึ้น เทคโนโลยีกับวิทยาศาสตร์วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยีมีความสัมพันธ์กันมาก เทคโนโลยีเกิดจากพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์รองรับประเทศตะวันตก ได้ศึกษาค้นคว้าทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์มาอย่างต่อเนื่อง ทำให้การพัฒนาเทคโนโลยีเจริญก้าวหน้าความสัมพันธ์ระหว่างวิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เป็นความรู้ที่เกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ โดยหลักสำคัญคือ ความรู้ทาง วิทยาศาสตร์คือการพยายามที่อธิบายว่าทำไมจึงเกิดอย่างนั้น (Why) เช่น นักฟิสิกส์ อธิบายว่า เมื่อขดลวดตัดสนามแม่เหล็กจะได้กระแสไฟฟ้า และน้ำเกิดจากไฮโดรเจนผสมกับออกซิเจนเป็นต้น
        เทคโนโลยีการสื่อสาร จึงหมายถึง สิ่งที่มนุษย์พัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในการสื่อสารระหว่างกัน โดยการถ่ายทอด รับรู้ข่าวสารร่วมกัน ผ่านเครื่องมือเหล่านั้น ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็น เครื่องมือ อุปกรณ์ เครื่องจักร วัสดุ เพียงอย่างเดียว อาจหมายรวมถึงกระบวนการต่าง ที่เกิดจากการประยุกต์ทางวิทยาศาสตร์ด้วย
        การสื่อสารมีการพัฒนามาเรื่อยๆ จากภูมิปัญญาท้องถิ่น สู่เทคโนโลยีการสื่อสารในปัจจุบันซึ่งมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และแนวโน้มในการพัฒนาเทคโนโลยีการสื่อสารจะขยายออกไปเรื่อยๆ เป็นเครือข่ายการสื่อสารไร้สาย 
         เทคโนโลยีการสื่อสาร (Communication Technology)  คือเทคโนโลยีดิจิตัล (Digital Technology)ประเภทหนึ่งซึ่งได้พัฒนาตัวเพื่อเอื้อต่อการจัดการ  “การสื่อสาร(Communication)” หรือ “การขนส่งข่าวสาร(Transfer of Information)”  เทคโนโลยีการสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็นทางด้านภาพ (Image) เสียง (Voice)  หรือ ทางด้านข้อมูล (Data) ได้รับการพัฒนาจนมนุษย์ สามารถเชื่อมโยงติดต่อกันได้อย่างสะดวกรวดเร็ว  และเป็นเครือข่ายที่ติดต่อสื่อสารกันได้ทั่วโลก  เป็นยุคของสารสนเทศ (Information Age) และเป็นสังคมสาร- สนเทศ (Information Society) ที่นับวันจะมีอัตราการเติบโตขึ้นทุกที่ทั้งในด้านขนาดและปริมาณข่าวสารที่ไหลเวียนอยู่ในสังคม (ธวัชชัย พานิชยกรณ์, 2539)
        หมายถึง เทคโนโลยีในการสื่อสารยุคใหม่ 4 กลุ่ม ได้แก่
         
          1. เทคโนโลยีการแพร่ภาพและเสียง (Broadcast and Motion Picture Technology)
                   2. เทคโนโลยีการพิมพ์ (Print and Publishing Technology)
                   3. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (Computer Technology)
                   4. เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม (Telecommunication Technology)
          บทบาทของเทคโนโลยีการสื่อสารในปัจจุบัน เช่น คอมพิวเตอร์  ดาวเทียมเพื่อการสื่อสาร  โครงข่าย โทรศัพท์ อุปกรณ์ ภาพและเสียง มีผลกระทบต่อ "สื่อแบบดั้งเดิม" (Traditional Media) ซึ่งได้แก่หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ ทำให้  เกิดสิ่งที่เรียกว่า  การปฏิวัติแห่งระบบตัวเลข"   (DigitalRevolution)  ทำให้ข้อมูลข่าวสารไม่ว่าจะอยู่ในรูปลักษณ์ใด เช่น ข้อความเสียงภาพเคลื่อนไหวรูปภาพ หรืองาน กราฟิก ได้รับการปรับเปลี่ยนให้เป็นภาษาอีกชนิดหนึ่งเป็นรูปแบบเดียวกันทั้งหมด  คือสามารถอ่านและส่งผ่านได้อย่างรวดเร็วด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ แล้วยังสามารถนำเสนอในลักษณะใดก็ได้ตามความต้องการใช้งาน ของผู้ใช้งาน ความเปลี่ยนแปลงนี้ถูกเรียกขานว่า "การทำให้เป็นระบบตัวเลข" หรือ"ดิจิไทเซชั่น" (Digitization) ด้วยระบบที่มีการทำให้เป็นระบบตัวเลข เป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้เกิด "สื่อใหม่" (New Media) ขึ้น เป็นสื่อที่มีลักษณะเกี่ยวข้องกับระบบตัวเลข เครื่องคอมพิวเตอร์ และระบบการสะท้อนกลับ หรือ "อินเตอร์ แอคทีฟ"(Interactive)

ประเภทของเทคโนโลยีการสื่อสาร

การสื่อสารทางเดียว (One - Way Communication) เป็นการส่งข่าวสารหรือการสื่อความหมายไปยังผู้รับแต่เพียงฝ่ายเดียว โดยที่ผู้รับไม่สามารถมีการตอบสนองในทันที (immediate response) ให้ผู้ส่งทราบได้ แต่อาจจะมีปฏิกิริยาสนองกลับ (feedback) ไปยังผู้ส่งภายหลังได้ การสื่อสารในรูปแบบนี้จึงเป็นการที่ผู้รับไม่สามารถมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันได้ทันที จึงมักเป็นการสื่อสารโดยอาศัยสื่อมวลชน เช่น การฟังวิทยุ หรือการชมโทรทัศน์ เหล่านี้เป็นต้น



 การสื่อสารสองทาง (Two-Way Communication) เป็นการสื่อสารหรือการสื่อความหมายที่ผู้รับมีโอกาสตอบสนองมายังผู้ส่งได้ในทันที โดยที่ผู้ส่งและผู้รับอาจจะอยู่ต่อหน้ากันหรืออาจอยู่คนละสถานที่ก็ได้ แต่ทั้งสองฝ่ายจะสามารถมีการเจรจาหรือการโต้ตอบกันไปมา โดยที่ต่างฝ่ายต่างผลัดกันทำหน้าที่เป็นทั้งผู้ส่งและผู้รับในเวลาเดียวกัน เช่น การพูดโทรศัพท์ การประชุม เป็นต้น



การสื่อสารข้อมูลสองทิศทางพร้อมกัน (Full Duplex Transmission) เป็นการสื่อสาร ทิศทาง โดยสามารถส่งข้อมูลในเวลาเดียวกันได้ เช่น การคุยโทรศัพท์ เป็นต้น




องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูล

 


1. ข้อมูลข่าวสาร (Message)  คือสัญญาณอิเลคทรอนิกส์ที่ส่งผ่านไปในระบบสื่อสาร ซึ่งอาจถูกเรียกว่า สารสนเทศ (Information) โดยแบ่งเป็น 5 รูปแบบ ดังนี้
                1.1 ข้อความ (Text) ใช้แทนตัวอักขระต่าง ๆ ซึ่งจะแทนด้วยรหัสต่าง ๆ เช่น รหัสแอสกี (รหัสมาตรฐานของสหรัฐอเมริกาเพื่อการแลกเปลี่ยนสารสนเทศประกอบด้วยอักษรละติน เลขอารบิก เครื่องหมายวรรคตอน และสัญลักษณ์ต่างๆ โดยแต่ละรหัสจะแทนด้วยตัวอักขระหนึ่งตัว)
             1.2 ตัวเลข (Number) ใช้แทนตัวเลขต่าง ๆ ซึ่งตัวเลขไม่ได้ถูกแทนด้วยรหัสแอสกีแต่จะถูกแปลงเป็นเลขฐานสองโดยตรง
                   1.3 รูปภาพ (Images) ข้อมูลของรูปภาพจะแทนด้วยจุดสีเรียงกันไปตามขนาดของรูปภาพ
                 1.4 เสียง (Audio) ข้อมูลเสียงจะแตกต่างจากข้อความ ตัวเลข และรูปภาพเพราะข้อมูลเสียงจะเป็นสัญญาณต่อเนื่องกันไป
                   1.5 วิดีโอ (Video) ใช้แสดงภาพเคลื่อนไหว ซึ่งเกิดจากการรวมกันของรูปภาพหลาย ๆ รูป

2. ผู้ส่ง (Sender) เป็นต้นทางที่ใช้ในการส่งข่าวสาร (Message) เป็นต้นทางของการสื่อสารข้อมูลมีหน้าที่เตรียมสร้างข้อมูล เช่น ผู้พูด โทรทัศน์ กล้องวิดีทัศน์ เป็นต้น
3. ผู้รับ (Receiver) เป็นปลายทางการสื่อสาร มีหน้าที่รับข้อมูลที่ส่งมาให้ เช่น ผู้ฟัง เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น
4. สื่อกลาง (Medium) หรือตัวกลาง เป็นเส้นทางการสื่อสารเพื่อนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง สื่อส่งข้อมูลอาจเป็นสายคู่บิดเกลียว สายโคแอกเชียล สายใยแก้วนำแสง หรือคลื่นที่ส่งผ่านทางอากาศ เช่น เลเซอร์ คลื่นไมโครเวฟ คลื่นวิทยุภาคพื้นดิน หรือคลื่นวิทยุผ่านดาวเทียม
5. โปรโตคอล (Protocol) คือ วิธีการหรือกฎระเบียบที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลเพื่อให้ผู้รับและผู้ส่ง สามารถเข้าใจกันหรือคุยกันรู้เรื่อง โดยทั้งสองฝั่งทั้งผู้รับและผู้ส่งได้ตกลงกันไว้ก่อนล่วงหน้าแล้วในคอมพิวเตอร์โปรโตคอลอยู่ในส่วนของซอฟต์แวร์ที่มีหน้าที่ทำให้การดำเนินงานในการสื่อสารข้อมูลเป็นไปตามโปรแกรมที่กำหนดไว้

การสื่อสารข้อมูลทางคอมพิวเตอร์

การสื่อสารข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ หมายถึง การโอนถ่าย (Transmission) ข้อมูลหรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้ส่งต้นทางกับผู้รับปลายทาง ทั้งข้อมูลประเภท ข้อความ รูปภาพ เสียง หรือข้อมูลสื่อผสม โดยผู้ส่งต้นทางส่งข้อมูลผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรือคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีหน้าที่แปลงข้อมูลเหล่านั้นให้อยู่ในรูปสัญญาณทางไฟฟ้า (Electronic data) จากนั้นถึงส่งไปยังอุปกรณ์หรือคอมพิวเตอร์ปลายทาง

ประเภทของสัญญาณทางไฟฟ้า
สัญญาณทางไฟฟ้า จำแนกสัญญาณได้ 2 ลักษณะ คือ

1. สัญญาณแบบดิจิทัล (Digitals signal) หมายถึง สัญญาณที่ถูกแบ่งเป็นช่วงๆ อย่างไม่ต่อเนื่อง (Discrete) โดยลักษณะของสัญญาณจะแบ่งออกเป็นสองระดับเพื่อแทนสถานะสองสถานะ คือ สถานะของบิต 0 และสถานะของบิต 1 โดยแต่ละสถานะคือ การให้แรงดันทางไฟฟ้าที่แตกต่างกัน การทำงานในคอมพิวเตอร์ใช้สัญญาณดิจิทัล


2.สัญญาณแบบอนาลอก (Analog Signal) หมายถึง สัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความต่อเนื่องของสัญญาณ โดยไม่เปลี่ยนแปลงแบบทันทีทันใดเหมือนกับสัญญาณดิจิทัล เช่น เสียงพูด หรืออุณหภูมิในอากาศเมื่อเทียบกับเวลาที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง
 


ประเภทของระบบเครือข่าย


1. ระบบเครือข่ายเฉพาะที่  Local Area Network  (LAN) คือ การเชื่อมต่อเครือข่ายขนาดเล็กในพื้นที่ไม่ใหญ่มากนัก เช่น ภายในห้องปฎิบัติการคอมพิวเตอร์ของโรงเรียน หรือภายในตัวอาคารสำนักงานต่างๆ
 

2. ระบบเครือข่ายระหว่างเมือง Metropolitan Area Network (MAN) คือ การเชื่อมต่อเครือข่ายที่มีขนาดที่ใหญ่ขึ้นกว่า LAN มักเกิดจากการเเชื่อมโยงเครือข่าย LAN ในบริเวณเดียวกันเข้าด้วยกัน เช่น การเชื่อมต่อระบบระหว่างองค์กรกับองค์กร


 3. ระบบเครือข่ายระยะไกล Wide Area Network (WAN) คือ เครือข่ายบริเวณกว้าง ซึ่งอาจมีขอบเขตการเชื่อมต่อที่กว้างไกลมากขึ้นกว่าระบบ LAN และ MAN ซึ่งเมื่อเชื่อมต่อแล้วจะก่อให้เกิดเป็นระบบเครือข่ายในระดับจังหวัด ประเทศ หรือทวีปต่างๆทั่วโลก

 
 ที่มา : http://www.gotoknow.org/blog/rome44/308385 

วันอาทิตย์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

รายชื่อสมาชิกไฟฟ้าอุตสาหกรรม56

รายชื่อสมาชิก
1. อาจารย์ ธภัทร  ชัยชูโชค        อ.ปาล์ม
2. นายกฤษกร      สุวรรณวงศ์    เอฟ
3.นายจตุพงค์       ณ สงขลา      พี่พงค์
4.นายจิรกิตต์       สุขเกษม         บอย
5.นายจิรพงศ์       แจ่มศรี            พงศ์
6.นายชัยยงค์      ชูแก้ว               บ่าวปั๊ม
7.นายเชิดชาย     เรืองฤทธิ์         พี่ชาย
8.นายตวิษ          เพ็งศรี              บ่าว
9.นายธีรวุฒิ        ศรีสวัสดิ์          วุฒิ
10.นายนพรัตน์    แก้วกำเนิด      เอ็กซ์
11.นายนันทปรีชา   ปิยะบุญสนอง   โปร
12.นายนิรันดร์     เสมอพบ        แบ
13.นายนิโรจน์     หวันปรัตน์      ซอล
14.นายปภังกร    เอียดจุ้ย          กิ๊ฟ
15.นายปรินทร์    ผุดผ่อง           บอล
16.นายพิชชากร  มีบัว             กร
17.นายพีระพงศ์  จันทร์ชู           พงศ์
18.นายภาคภูมิ   จุลนวล            เจ
19.นางสาวเยาวเรศ  ร่วมพรภาณุ  สาวโรส
20.นายรชต  อารี   รอน
21.นายรุสดี  วาลี   ซี
22.นายวงศธร  อินทมะโน   พี่หมีด
23.นายวสุ  ราชสีห์              หนัง
24.นายวัชรินทร์  เขียนวารี   ปอนด์
25.นายวิฆเนศ   ณ รังษี        หมู
26.นายวิโรจน์  เหมมาน     ลิฟ
27.นายศุภวัฒน์  ไชยของพรม    รุส
28.นายสมประสงค์  วงศ์สุวรรณ  ทู
30.นายสมศักดิ์  มากเอียด       กล้วย
31.นายสราวุฒิ   เกบหมีน        บังซอล
32.นายสานิต   มิตสุวรรณ      ปอ
33.นายสุรเดช สม่าแห            ยา
34.นายสุรศักดิ์ สะเกษ             โจ้
35.นายเสะมาดี ตูแวดาแม       ดี
36.นายอนิรุตต์ ภาระบุญ         โต๋
37.นายอนุพงษ์ เทพพรหม      ทิว
38.นายอภิเดช ทองอินทร์      โหนด
39.นายอภิวัฒน์ เจิมขวัญ    บ่าวกุ้ง
40.นายอภิสิทธิ์ ยะโกบ       ดุล
41.นายอับดุลรอมัน บูกา      รอมัน
42.นายอับดุลเลาะ กาโฮง  เลาะ
43.นายอาคม เรืองกูล     บ่าวแบงค์
44.นายอาจณรงค์ ราชูภิมนต์   มิค
45.นายอานนท์ นาควิเชียร     นนท์
46.นายอาลียะ สะอุ     ฟาน
47.นายอาหามะซุบฮี จะแน  มะ
48.นายอิสมาแอ มะยี   แอ
49.นายเกรียงศักดิ์ บุญประเสริฐ   เบียร์
50.นายพุฒิพงศ์ หนูนอง  เพชร
51.นายจตุรงค์ หิรัญกูล  นิว

เครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบริง



แบบวงแหวน (Ring Network)
โครงสร้างแบบนี้คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์จะถูกเชื่อมต่อเข้ากับสายเคเบิลเส้นเดียวเป็นวงแหวนคอมพิวเตอร์ทุกตัวเชื่อมโยงเป็นวงจรปิดทำให้การส่งข้อมูล
จากคอมพิวเตอร์ตัวหนึ่งไปยังอีกตัวหนึ่งโดยเดินทางไปในทิศทางเดียวกันตลอดโดยผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ถัดกันไปเป็นทอดๆการส่งข้อมูลจะใช้
ทิศทางเดียวถ้าแอดเดรสของมันไม่ตรงกับผู้รับตามที่เครื่องต้นระบุมา มันก็จะส่งผ่านไปยังเครื่องถัดไป จนกว่าจะถึงเครื่องปลายคือตรงกับใครเครื่องนั้น
ก็รับไม่ส่งต่อ คอมพิวเตอร์แต่ละตัวทำงานโดยอิสระ หากมีตัวใด ตัวหนึ่งเสียระบบการสื่อสารในเครือข่ายได้รับการกระทบกระเทือน ยกเว้นจะมีวงแหวน
คู่ในการรับส่งข้อมูลในทิศทางต่างๆ กัน เพื่อเป็นเส้นทางสำรองในการป้องกันไม่ให้เครือข่ายหยุดทำงานโดยสิ้นเชิง
     โครงสร้างแบบนี้มีข้อเสียคล้าย ๆ กับแบบบัส คือเมื่อสายเคเบิลช่วงใดช่วงหนึ่งขาดจะทำให้ทั้งระบบใช้งานไม่ได้ อย่างไรก็ตามเครือข่ายแบบวงแหวน
มักใช้สายเคเบิลที่มีวงแหวนสำรองที่สามารถส่งข้อมูลในทิศทางกลับกัน เพื่อเป็นเส้นทางสำรองในกรณีที่เครือข่ายมีปัญหา ซึ่งราคาแพงพอสมควร นอกจากนี้การเพิ่มเครื่องเข้าไปในเครือข่ายจะต้องปิดการทำงานของระบบก่อนเช่นเดียวกับแบบบัส เครือข่ายแบบนี้ปัจจุบันยังใช้กันอยู่ โดยเฉพาะในเครือข่ายของผลิตภัณฑ์ในตระกูล IBM ซึ่งโดยมากจะเป็นการเชื่อมต่อเครื่องเมนเฟรมหรือมินิคอมพิวเตอร์

     การเชื่อมต่อแบบวงแหวน (RING TOPOLOGY) เป็นการเชื่อมต่อเครือข่าย เป็นรูปวงแหวนหรือแบบวนรอบ โดยสถานีแรก เชื่อมต่อกับสถานีสุดท้าย การรับส่งข้อมูลในเครือข่ายจะต้องผ่านทุกสถานี โดยมีตัวนำข่าวสาร วิ่งไปบนสายสัญญาณ ของแต่ละสถานี ต้องคอยตรวจสอบข้อมูลที่ส่งมา ถ้าไม่ใช่ของตนเอง ต้องส่งผ่านไปยังสถานีอื่นต่อไป ตัวอย่างเช่น การเชื่อมต่อของ IBM Token Ring ที่ต้องมีตัวนำข่าวสาร หรือ Token นำข่าวสารวิ่งวนไปรอบสายสัญญาณหรือ Ring แต่ละสถานีจะคอยตรวจสอบ Token ว่าข่าวสารที่นำมาด้วยเป็นของตนหรือไม่ ถ้าใช่ก็จะรับข่าวสารนั้นไว้ แล้วส่ง Token ให้สถานีอื่นใช้ต่อไปได้
โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบวงแหวน (ring topology)
              โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบวงแหวน มีการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์โดยที่แต่ละการเชื่อมต่อจะมีลักษณะเป็นวงกลม การส่งข้อมูลภายในเครือข่ายนี้ก็จะเป็นวงกลมด้วยเช่นกัน ทิศทางการส่งข้อมูลจะเป็นทิศทางเดียวกันเสมอ จากเครื่องหนึ่งจนถึงปลายทาง ในกรณีที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งขัดข้อง การส่งข้อมูลภายในเครือข่ายชนิดนี้จะไม่สามารถทำงานต่อไปได้ ข้อดีของโครงสร้าง เครือข่ายแบบวงแหวนคือ ใช้สายเคเบิ้ลน้อย และถ้าตัดเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เสียออกจากระบบ ก็จะไม่ส่งผลต่อการทำงานของระบบเครือข่ายนี้ และจะไม่มีการชนกันของข้อมูลที่แต่ละเครื่องส่ง


                        เครือข่ายแบบวงแหวน เป็นลักษณะการเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุดเช่นเดียวกับแบบดาว โดยสถานีแต่ละสถานีจะต่อกับสถานี ที่อยู่ติดทั้งสองข้างของตนเอง โดยจะมีการเชื่อมโยงเครื่องขยายสัญญาณของแต่ละสถานีเข้าด้วยกันเป็นวงแหวน สัญญาณข้อมูลจะส่งอยู่ในวงแหวนแบบจุดต่อจุดไปในทิศทางเดียวกันจนถึงผู้รับภายในเวลาที่กำหนด โดยเครื่องขยายสัญญาณเหล่านี้จะมีหน้าที่ในการรับข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของตัวเองหรือจากเครื่องขยายสัญญาณตัวก่อนหน้า และส่งข้อมูลต่อไปยังเครื่องขยายสัญญาณตัวถัดไปเรื่อย ๆ เป็นวง หากข้อมูลที่ส่งเป็นของสถานีใด เครื่องขยายสัญญาณของสถานีนั้นก็รับและส่งให้กับสถานีนั้น จึงต้องมีการตรวจสอบข้อมูลที่ได้รับว่าเป็นของตนเองหรือไม่ ถ้าใช่ก็รับไว้ ถ้าไม่ใช่ก็ส่งต่อไป อีกทั้งสามารถตรวจสอบความผิดพลาดในการส่งด้วย ในกรณีที่เครื่องรับปลายทางไม่ได้รับสัญญาณข้อมูลในเวลาที่กำหนด จะมีการแจ้งว่าเกิดความผิดพลาดในเครือข่ายได้



เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ด้วยสายเคเบิลสายเดียว ในลักษณะวงแหวน ซึ่งมักจะใช้ในองค์กรที่มีคอมพิวเตอร์วางอยู่ในพื้นที่ใกล้ ๆ กัน ข้อดีของโครงสร้างแบบนี้คือ ใช้สายเคเบิลน้อย และสามารถตัดเครื่องที่เสียออกจากระบบได้ ทำให้ไม่มีผลต่อระบบเครือข่าย ข้อเสียคือหากมีเครื่องที่มีปัญหาอยู่ในระบบจะทำให้เครือข่ายไม่สามารถทำงาน ได้เลย และการเชื่อมต่อเครื่องเข้าสู่เครือข่ายอาจต้องหยุดระบบทั้งหมดลงก่อน

    หลักการรับส่งข้อมูล

                การวิ่งของข้อมูลในเครือข่ายวงแหวนจะใช้ทิศทางเดียวเท่านั้น เมื่อคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งส่งข้อมูล มันจะส่งข้อมูลไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องถัดไป ถ้าข้อมูลที่รับมาไม่ตรงตามที่คอมพิวเตอร์เครื่องต้นทางระบุ มันจะส่งผ่านไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องถัดไป ซึ่งจะมีขั้นตอนอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ จะกว่าจะถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทางที่ถูกระบุไว้จากเครื่องต้นทาง

การขยายเพิ่มเติมระบบ
                การขยายเพิ่มเติมคอมพิวเตอร์เข้ามาในระบบนี้ค่อนข้างยุ่งยากกว่าเครือข่ายแบบ อื่น เพราะทุกครั้งที่เพิ่มคอมพิวเตอร์เข้ามา ก็จะต้องตัดต่อสายเคเบิลเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่ ซึ่งจะต้องปิดเครือข่ายก่อนจนกว่าจะเชื่อมต่อเสร็จ

  การแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
                เมื่อสายเคเบิลช่วงใดขาด เครือข่ายก็ไม่สามารถรับส่งข้อมูลได้จนกว่าจะซ่อมแซมสายช่วงนั้นให้เรียบ ร้อยก่อน แต่จุดที่มีปัญหาในโครงสร้างเครือข่ายแบบนี้หาได้ไม่ยากนัก ซึ่งเครือข่ายแบบวงแหวนนี้มักจะมีวงแหวนคู่ในการรับส่งข้อมูลในทิศทางต่าง ๆ กัน เพื่อเป็นเส้นทางสำรอง และป้องกันไม่ให้เครือข่ายหยุดทำงานโดยสิ้นเชิง
  ค่าใช้จ่ายในการสร้างเครือข่ายแบบวงแหวนมีค่าใช้จ่ายสูงพอสมควร เนื่องจากคอมพิวเตอร์ในวงแหวนทุกตัวจะต้องเชื่อมต่อเข้ากับสายเคเบิลเส้น เดียว ซึ่งจะต้องใช้สายยาวมากขึ้น ถ้าคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องวางอยู่ในตำแหน่งที่ห่างกัน

ข้อดี
ใช้เคเบิลและเนื้อที่ในการติดตั้งน้อย
คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเน็ตเวิร์กมีโอกาสที่จะส่งข้อมูลได้อย่างทัดเทียมกัน
- ใช้สายส่งสัญญาณน้อยกว่าแบบดาวเหมาะกับการเชื่อมต่อด้วยสายสัญญาณใยแก้วนำแสงเพราะส่งข้อมูลทางเดียวด้วยความเร็วสูง

 ข้อเสีย
-  หากโหลดใดโหลดหนึ่งเกิดปัญหาขึ้นจะค้นหาได้ยากว่าต้นเหตุอยู่ที่ไหน และวงแหวนจะขาดออก
-  ถ้าสถานีใดเสีย ระบบก็จะไม่สามารถทำงานต่อไปได้ จนกว่าจะแก้ไขจุดเสียนั้น และยากในการตรวจ    สอบว่ามีปัญหาที่จุดใด และถ้าต้องการเพิ่มสถานีเข้าไป จะกระทำได้ยาก

แหล่งที่มา :
http://www3.ipst.ac.th/research/assets/web/mahidol/computer%2810%29/network/net_topology8.html